ปัญหาที่พบบ่อยจากการดูแลผู้ป่วยติดเตียง
และเหตุผลที่ควรจ้างศูนย์ดูแลผู้ป่วย

ความเสี่ยง และ ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยติดเตียงที่ควรรู้ หากไม่จ้างศูนย์ดูแลผู้ป่วย

ศูนย์ดูแลผู้ป่วย

ผู้ป่วยติดเตียงในทางการการแพทย์ หมายถึง ผู้ป่วยที่ร่างกายเสื่อมโทรมจนต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา ซึ่งอาจขยับตัวได้บ้างแต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในเรื่องอื่น ๆ ได้เลย ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุของอุบัติเหตุ หรือ อาการป่วยที่ให้ให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ ซึ่งอาจจะขยับได้บ้างเป็นบางส่วน ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องการการดูแลเป็นพิเศษจากคนรอบข้าง เพราะพวกเขาเหล่านนั้นไม่สามารถทำอะไรได้เอง จึงต้องอาศัยความเข้าใจ และ ใส่ใจ ดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งหากดูแลได้ไม่ดีพอ หรือไม่มีความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียง อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะทำให้ผู้ป่วยติดเตียงมีอาการป่วยซ้ำเติมเข้าไปอีก ดังนั้น วันนี้เราจะมาบอกถึงความเสี่ยงของผู้ป่วยติดเตียงว่าจะต้องเจออะไรบ้าง

ปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยติดเตียง

  1. แผลกดทับ
    ภาวะแผลกดทับ พบเห็นได้บ่อยในผู้ป่วยติดเตียง ถือเป็นภาวะแทรกซ้อน ซึ่งผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นจะต้องพลิกตัวของผู้ป่วยติดเตียงในทุก 2 ชั่วโมง หากไม่หมั่นทำการพลิกตัว หรือ ละเลยเป็นเวลานานนั้นจะก่อให้เกิดแผลกดทับตามร่างกายของผู้ป่วยติดเตียง จนบางครั้งแผลลึกจนถึงกระดูกก็มี แผลอาจติดเชื้อ และ ทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดตามมาได้ในบางครั้งอาจจะก่อเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

  2. ภาวะกลืนลำบาก
    ภาวะกลืนอาหารลำบาก โดยส่วนใหญ่นั้น ภาวะกลืนลําบากที่พบได้บ่อย คือความผิดปกติทางช่องปาก และ คอหอยในผู้สูงอายุ คือโรคหลอดเลือดสมอง และ ภาวะสมองเสื่อม ซึ่งภาวะกลืนลำบาก มีความเสี่ยงต่อการลำลักในขณะรับประทานอาหาร อาจทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ เพราะเศษอาหารหลุดเข้าไปที่หลอดลม ที่อาจอันตรายถึงชีวิตได้เลย ดังนั้น จึงไม่ควรให้ผู้ป่วยทานอาหารในท่านอน จึงควรจัดให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงระหว่างรับประทานอาหาร และเมื่อทานเสร็จแล้วก็ควรปล่อยให้นั่งตรงต่อไปก่อนสักพักเพื่อรออาหารย่อย จึงค่อยพาผู้ป่วยนอน

  3. ข้อยึดติด กล้ามเนื้อลีบ
    เนื่องด้วยผู้ป่วยติดเตียงนั้นไม่ค่อยได้ใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เหมือนคนปกติ จากการที่ร่างกายของผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิม ๆ เป็นระยะเวลานาน ส่งผลทำให้ข้อยึดติด ไม่สามารถเหยียดข้อออกได้อย่างปกติ ควรจะให้ผู้ป่วยได้รับการกายภาพ ในทุก ๆ วัน เช้า เย็น เป็นอย่างน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะกล้ามเนื้อลีบ ข้อยึดติดนั้นเอง

  4. ภาวะปอดติดเชื้อและติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
    ผู้ป่วยติดเตียงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปอดติดเชื้อ เนื่องจากร่างกายอ่อนแอ การเคลื่อนไหวน้อย ไอหรือจามไม่แรง ทำให้เสมหะค้างอยู่ในปอด เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค

    ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากไม่สามารถลุกไปปัสสาวะได้ด้วยตัวเอง ปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะนาน ส่งผลให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและทำให้เกิดการติดเชื้อ

  5. ภาวะท้องผูก
    ภาวะท้องผูกเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อิสระ ส่งผลให้การขับถ่ายลำบากมากขึ้น ผู้ป่วยติดเตียงจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะท้องผูก
    นอกจากนี้ ผู้ป่วยติดเตียงมักรับประทานอาหารที่มีกากใยต่ำ และดื่มน้ำน้อย เนื่องจากผู้ดูแลไม่มีความรู้ทางด้านโภชนาการเพียงพอจึงไม่ได้จัดอาหารที่มี ผัก ผลไม้เพียงพอต่อปริมาณที่ร่างกายต้องการส่งผลให้อุจจาระแข็งและถ่ายยากมากขึ้น เพื่อป้องกันภาวะท้องผูก ควรเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและรับประทานอาหารให้เหมาะสม ดังนี้

    1. รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช ไม่ควรน้อยกว่าวันละ 25-35 กรัม
    2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละอย่างน้อย 1.5 ลิตร
    3. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าห้องน้ำถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
    4. หลีกเลี่ยงการกลั้นอุจจาระ

  6. ความสะอาด
    ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องการเน้นย้ำเป็นพิเศษสำหรับผู้ป่วยติดเตียงเนื่องด้วยพวกเขาเหล่านั้นต้องใส่ผ้าอ้อม และ ต้องเปลี่ยนตลอดเวลา หากไม่มีการเปลี่ยนให้ผู้ป่วยติดเตียงมักจะทำให้เกิดความอับชื้นขึ้นได้ จึงต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ ซึ่งหากผู้ป่วยติดเตียงต้องใส่สายสวนปัสสาวะควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะเป็นประจำ อย่างน้อยทุก 2-4 สัปดาห์ และทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ ทุกครั้งเพื่อให้มั่นใจในความสะอาด หากพบว่าผู้ป่วยมีปัสสาวะสีขุ่น หรือ มีอาการปัสสาวะไม่ออก ควรรีบพาไปส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

  7. สุขภาพจิตของผู้ป่วย
    นอกจากปัญหาทางด้านร่างกายแล้ว ภาวะจิตใจของผู้ป่วยติดเตียงมักพบได้บ่อยว่าอาจจะเป็นภาวะซึมเศร้าได้ เนื่องจากสูญเสียความเป็นอิสระ ไม่สามารถทำอะไรเองได้ รู้สึกโดดเดี่ยว และเบื่อหน่ายกับชีวิตหรือเพราะผู้ติดเตียงนั้นมักจะมีสภาวะสมองเสื่อม หรือ เคยเป็นเส้นเลือดในสมองตีบมาก่อน อีกทั้งยังอาจทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรม ความคิด หรือ อารมณ์ไม่เหมือนกับคนปกติ ดังนั้น ผู้ดูแลสามารถหากิจกรรมต่าง ๆ มาทำร่วมกับผู้ป่วย เพื่อผ่อนคลาย และ ลดความเศร้าลง ทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้

จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยติดเตียงนั้นต้องการความใสใจ ดูแล เป็นพิเศษ จากคนใกล้ชิด แต่หากต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญเฉพาะทาง และมีความใส่ใจในการดูแล รู้จักวิธีปฎิบัติต่อผู้ป่วยอย่างถูกต้องแนะนำติดต่อ เอพลัสเนอร์สซิ่งโฮม ที่เป็นศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุ บ้านพักคนชราปากเกร็ด ได้มาตรฐาน ครบครันในการดูแล มั่นใจได้ในเรื่องความสะอาดและความใส่ใจ ครอบคลุมทั้งในด้านการดูแล การรักษา ไปจนถึงการฟื้นฟู ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด นักบริบาลและผู้ดูแลมืออาชีพ คอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง

สอบถามข้อมูลการดูแลผู้ป่วยติดเตียง จาก เอพลัสเนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์ดูแลผู้ป่วย
34/7 หมู่ 9 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร : 092-656-5650
ออฟฟิศ : 02-010-5788
Line : @aplusnursinghome
อีเมล : aplusnursinghome@gmail.com