การป้องกัน และ จัดการภาวะแทรกซ้อนสำหรับศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

6 ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยติดเตียงที่จำเป็นจะได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

 

เราคงพบว่าผู้ป่วยติดเตียง คือ ผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายที่เสื่อมโทรม ผู้ป่วยติดเตียงมักมีสาเหตุมาจากการผ่าตัดใหญ่ อุบัติเหตุ รวมไปถึงโรคต่าง ๆ โดยเรามักจะพบว่าผู้ป่วยติดเตียงสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากมาย ซึ่งหาไม่ได้รับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่ดี หรือ ใช้บริการศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงอาจจะทำให้พวกเค้ามีภาวะต่างๆแทรกซ้อนได้ โดยการป้องกัน และ การจัดการภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยติดเตียงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยที่ต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานานมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายประการ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยปัญหาที่มักเกิดขึ้นมีดังนี้

วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

  1. แผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง (Pressure Sores)
    โดยแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียงนั้นเกิดขึ้นได้จากการนอนนิ่ง ๆ เป็นระยะเวลานาน หรือ เกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถพลิกตัวเองได้ ส่งผลทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงที่บริเวณผิวหนัง จนทำให้ผิวหนังลอก หากปล่อยทิ้งไว้แผลจะลึกไปถึงชั้นกระดูก และ เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้นจึงต้องได้รับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงโดย ควรเปลี่ยนท่าผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อกระจายแรงกดในแต่ละจุด และ ลดความเสี่ยงของแผลกดทับ อีกทั้งใช้ที่นอนลม หรือ ที่นอนป้องกันแผลกดทับ เพื่อช่วยลดแรงกด รักษาความสะอาด และ ความชุ่มชื้นของผิวหนัง และ ตรวจสอบผิวหนังเป็นประจำ และ ใช้เบาะรองหรือหมอนหนุนในบริเวณที่มีแรงกดมาก เช่น ข้อศอก ส้นเท้า และสะโพก

  2. ภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อ (Pneumonia)
    เรามักจะพบว่าผู้ป่วยติดเตียงนั้นอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนทางปอดได้เนื่องจากพวกเค้าไม่สามารถนำเสมหะออกจากคอได้จึงต้องได้รับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างดี โดยผู้ดูแลควรปรับท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่านั่ง หรือ กึ่งนั่งอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงของการสะสมเสมหะในปอดอีกทั้งกระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ และ ฝึกการไอเป็นระยะ เพื่อช่วยระบายเสมหะ และ สุดท้ายควรรักษาสุขอนามัยทางเดินหายใจ และ หลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากคนรอบข้าง

  3. ภาวะท้องผูก (Constipation)
    โดยเรามักจะพบว่าอาการท้องผูก ถือเป็นอีกหนึ่งภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียงบ่อยมากๆ ซึ่งเกิดจากการทานอาหารที่มีปริมาณของกากใยน้อย มีการดื่มน้ำน้อย หรือ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และ ปรับเปลี่ยนอาหาร เช่น ผักหรือผลไม้ที่มีกากใยสูงโดยเราสามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้ด้วยการให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช กระตุ้นการดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยในการขับถ่าย และ หากสามารถทำได้ ควรขยับร่างกาย หรือ ช่วยเหลือในการเคลื่อนไหวเบาๆ เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้นั้นเอง

  4. ภาวะข้อติด (Joint Contracture)
    การที่ผู้ป่วยติดเตียงไม่ได้ขยับเป็นเวลานานๆ ส่งผลทำให้ข้อยึดติด ไม่สามารถเหยียดข้อศอกได้อย่างปกติ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจึงต้องทำกายภาพให้กับผู้ป่วยในทุกๆเช้า และ เย็น อีกทั้งหากเมื่อผู้ป่วยติดเตียงเกิดข้อยึดติด กล้ามเนื้อลีบควรให้ ผู้ป่วยติดเตียงเคลื่อนไหวข้อต่างๆ ของผู้ป่วยเป็นประจำทุกวัน หรือ ฝึกกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันข้อติด และ เปลี่ยนท่าผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ และ จัดท่าที่เหมาะสมนั้นเอง

  5. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection - UTI)
    โดยเรามักจะพบว่าภาวะแทรกซ้อนติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะมักจะพบในเพศหญิงมีท่อปัสสาวะที่สั้นกว่าเพศชาย เมื่อมีการกลั้นปัสสาวะเป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจส่งผลทำให้เชื้อโรคเกิดการเจริญเติบโตและ เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะในที่สุดนั่นเองจึงต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงโดยดูแลความสะอาดของบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และ การเปลี่ยนผ้าอ้อมผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับปัสสาวะและลดโอกาสการติดเชื้อ อีกทั้งควรใช้สายสวนปัสสาวะเท่าที่จำเป็น และ ดูแลสายสวนให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

  6. ภาวะซึมเศร้า และ ความเครียด (Depression and Anxiety)
    เรามักจะพบว่าภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยติดเตียง ถือเป็นภาวะที่มักพบเห็นได้ง่ายเป็นอย่างมาก เพราะผู้ป่วยติดเตียงนั้นมักจะมีสภาวะสมองเสื่อม หรือ เคยเป็นเส้นเลือดในสมองตีบมาก่อน อีกทั้งยังอาจทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรม ความคิด หรือ อารมณ์ไม่เหมือนกันคนปกติ โดยผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของผู้ป่วย ให้ครอบครัว และ เพื่อนเยี่ยมเยียนสม่ำเสมอ อีกทั้งควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย และ มีกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างจิตใจ เช่น ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ หรือ พูดคุย

    เพื่อลดความเครียดให้ผู้ป่วยนั้นเอง

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องการความเอาใจใส่ และ การจัดการที่เป็นระบบ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และ เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยซึ่งศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรมีการจัดการอย่างมืออาชีพ และ ถูกหลักการดูแลจึงจะทำให้พวกเค้าเหล่านั้นสามารถใช้ชีวิตต่อได้อย่างมีความสุขกาย สบายใจ ทั้งนี้ทั้งนั้นหากกำลังมองหาศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีความพร้อมทั้งประสบการณ์ และ บุคลากร เราขอแนะนำ Aplusnursinghome ซึ่งเป็นศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดเตียงที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านผู้ป่วยติดเตียงโดยเฉพาะ อีกทั้งผู้ป่วยติดเตียงจะได้รับการดูแลจากผู้มากประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกาย และ จิตใจของผู้ป่วยติดเตียงเป็นอย่างดี มีกิจกรรมมากมาย เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงนั้นได้พักฟื้นได้รับการดูแลทั้งด้านร่างกาย และ จิตใจให้เบิกบาน อีกทั้งสามารถดูแลคนที่คุณรักด้วยมาตรฐาน ตลอด 24 ชม ทั้งยังมีบุคลากรบริการดูแลผู้ป่วยติดเตียง และ ผู้สูงอายุ โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ และ ทีมพยาบาลวิชาชีพ ให้ผู้เข้ารับบริการมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และ สังคมอย่างแน่นอน

สนใจดูรายละเอียด และขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ติดต่อ เอพลัส เนอร์สซิ่งโฮม

ที่อยู่ 34/7 หมู่ 9 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120

โทร : 092-656-5650
ออฟฟิศ : 02-010-5788
Line : @aplusnursinghome
อีเมล : aplusnursinghome@gmail.com