ความสำคัญของโปรตีน และ วิตามินสำหรับโภชนาการในผู้ป่วยติดเตียง
ทำไมผู้ป่วยติดเตียงจึงควรรับโปรตีน และ วิตามินให้เพียงพอ
เราจะพบว่าในภาวะผู้ป่วยติดเตียงนั้นเป็นกลุ่มที่ต้องการการดูแลพิเศษทั้งในด้านสุขภาพร่างกาย และทางโภชนาการ โดยการขาดสารอาหารที่จำเป็นอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และ กระบวนการฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วย โดยเฉพาะโปรตีน และ วิตามินซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อ รักษาแผล และ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ดังนั้นในบทความนี้เราจะกล่าวถึงความสำคัญของโปรตีน และวิตามินที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงแหล่งอาหารผู้ป่วยติดเตียง และ แนวทางการจัดโภชนาการที่เหมาะสม
ความสำคัญของโปรตีนในอาหารผู้ป่วยติดเตียง
- การเสริมสร้าง และ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
โปรตีนเป็นองค์ประกอบหลักของกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และ เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ผู้ป่วยติดเตียงมักมีภาวะกล้ามเนื้อลีบจากการไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน ดังนั้นการได้รับอาหารผู้ป่วยติดเตียงที่มีโปรตีนเพียงพอจะช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย - การรักษาแผลกดทับ
ในผู้ป่วยติดเตียงมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลกดทับ ซึ่งโปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการสร้างเซลล์ใหม่ และ ฟื้นฟูบาดแผล การขาดโปรตีนอาจทำให้แผลหายช้า หรือ เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น - ระบบภูมิคุ้มกัน
โปรตีนช่วยสร้างแอนติบอดี และ เซลล์ภูมิคุ้มกันที่จำเป็นต่อการป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยติดเตียงที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ - การรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย
โปรตีนมีบทบาทในการรักษาสมดุลของของเหลวภายในร่างกาย การขาดโปรตีนอาจทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยได้
แหล่งอาหารผู้ป่วยติดเตียงที่มีโปรตีนเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง
สำหรับแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับอาหารผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีหลากหลายแหล่งอันได้แก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น ไก่ ปลา หมูไม่ติดมัน อีกทั้งยังมีไข่ ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง รวมถึงผลิตภัณฑ์นม เช่น นมถั่วเหลือง โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง โดยสามารถรับแหล้งโปรตีนจากพืช เช่น เต้าหู้ และ สุดท้ายในอาหารผู้ป่วยติดเตียงเสริมโปรตีนในรูปแบบผง หรือ เครื่องดื่มสำหรับผู้ที่รับประทานอาหารปกติไม่เพียงพอ
ความสำคัญของวิตามินในอาหารผู้ป่วยติดเตียง
- วิตามินเอ (Vitamin A)
วิตามินเอเป็นอาหารผู้ป่วยติดเตียงที่ช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อ และ มีบทบาทสำคัญในการรักษาแผล พบได้ในแครอท ฟักทอง และ ตับสัตว์ - วิตามินบีรวม (Vitamin B Complex)
วิตามินบีเป็นอาหารผู้ป่วยติดเตียงที่ช่วยเสริมสร้างพลังงานให้กับร่างกาย และ มีบทบาทในการทำงานของระบบประสาท พบในธัญพืชเต็มเมล็ด ไข่ และ ผลิตภัณฑ์จากนม - วิตามินซี (Vitamin C)
วิตามินซีเป็นอาหารผู้ป่วยติดเตียงที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และ มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์คอลลาเจนที่ช่วยในการรักษาแผล พบในผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ - วิตามินดี (Vitamin D)
วิตามินดีเป็นอาหารผู้ป่วยติดเตียงที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ป้องกันภาวะกระดูกพรุน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในผู้ป่วยติดเตียง พบในปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทู และ การได้รับแสงแดดที่เพียงพอ - วิตามินอี (Vitamin E)
วิตามินอีเป็นอาหารผู้ป่วยติดเตียงที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และ ลดความเสี่ยงของการอักเสบในร่างกาย พบในถั่ว น้ำมันพืช และ เมล็ดพืช - วิตามินเค (Vitamin K)
วิตามินเคเป็นอาหารผู้ป่วยติดเตียงที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวได้ดี ป้องกันภาวะเลือดออกง่าย พบในผักใบเขียว เช่น คะน้า บรอกโคลี ผักโขม
7 แนวทางการจัดโภชนาการสำหรับเป็นอาหารผู้ป่วยติดเตียง
- ให้พลังงาน และ สารอาหารครบถ้วน โดยควรจัดอาหารให้มีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และ ไขมันที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วยติดเตียงเคสนั้นๆ
- เน้นโปรตีนคุณภาพสูง อาหารผู้ป่วยติดเตียงควรเน้นที่ให้โปรตีนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีแผลกดทับ หรือ ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เสริมวิตามิน และ แร่ธาตุ โดยควรเลือกอาหารที่มีวิตามิน และ แร่ธาตุครบถ้วน เพื่อป้องกันการขาดสารอาหารในผู้ป่วยติดเตียง
- ให้อาหารที่ย่อยง่าย ควรหลีกเลี่ยงอาหารผู้ป่วยติดเตียงที่มีไขมันสูง หรือ ย่อยยาก เพื่อป้องกันปัญหาทางเดินอาหาร
- ควบคุมปริมาณน้ำให้เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ หรือ บวมน้ำจากโปรตีนไม่เพียงพอ
- ปรับรูปแบบอาหารผู้ป่วยติดเตียงตามความสามารถในการรับประทาน เช่น อาหารปั่นละเอียดสำหรับผู้ที่กลืนลำบาก เป็นต้น
- ปรึกษานักโภชนาการ หรือ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจัดอาหารผู้ป่วยติดเตียงที่เหมาะสมตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วย
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะพบว่าโปรตีน และ วิตามินเป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียงอย่างมาก การได้รับสารอาหารที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างร่างกาย ลดภาวะแทรกซ้อน และ เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ดังนั้น การจัดโภชนาการให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลควรให้ความใส่ใจอย่างยิ่งสำหรับเป็นอาหารผู้ป่วยติดเตียง ดังนั้นหากกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญในการดูแลคนที่คุณรักรวมทั้งยังมีบริการดูแลผู้ป่วยติดเตียงครบวงจรนั้นเราขอแนะนำ Aplusnursinghome ซึ่งเป็นศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีบริการครบครันทั้งด้านผู้ป่วยติดเตียง และ ผู้สูงอายุโดยเฉพาะ อีกทั้งผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลจากผู้มากประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกายภาพบำบัด ร่างกาย และ จิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างดี มีกิจกรรมมากมาย มีอาหารผู้ป่วยติดเตียงที่เหมาะสม มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน เพื่อให้ผู้ป่วยนั้นได้พักฟื้นได้รับการดูแลทั้งด้านร่างกาย และ จิตใจให้เบิกบาน แล้วยังสามารถดูแลคนที่คุณรักด้วยมาตรฐาน ตลอด 24 ชม ทั้งยังมีบุคลากรบริการดูแลผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ และ ทีมพยาบาลวิชาชีพ ให้ผู้เข้ารับบริการมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และ สังคมอย่างแน่นอน
สนใจดูรายละเอียด และขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ติดต่อ เอพลัส เนอร์สซิ่งโฮม
โทร : 092-656-5650
Line : @aplusnursinghome
อีเมล : aplusnursinghome@gmail.com