วิธีการ และ การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ใช้อาหารทางสาย
ทำความเข้าใจขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายอย่างเหมาะสม
เราอาจจะทราบกันว่าการให้อาหารทางสายเป็นวิธีการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้อย่างเพียงพอ หรือ ปลอดภัย โดยทั่วไปแล้ว มักใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก ผู้ป่วยที่หมดสติ หรือ ผู้ที่ต้องการโภชนาการเพิ่มเติมในระยะเวลานานๆ การดูแลผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายต้องดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และ ทำให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่เหมาะสม ดังนั้นในบทความนี้เราจะมานำเสนอวิธีการดูแลผู้ป่วยที่ต้องการอาหารทางสายอย่างเหมาะสม
ประเภทของการให้อาหารทางสายสำหรับผู้ป่วย
- สายให้อาหารทางจมูก (Nasogastric Tube - NG Tube)
การให้อาหารทางสายผ่านจมูกนั้น จะใช้สายพลาสติกขนาดเล็กสอดผ่านจมูกลงไปยังกระเพาะอาหารโดยตรงเหมาะสำหรับการให้อาหารในระยะสั้น (ไม่เกิน 4-6 สัปดาห์) ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก หรือ จำเป็นต้องได้รับโภชนาการเพิ่มเติม - สายให้อาหารทางกระเพาะอาหารโดยตรง (Gastrostomy Tube - G-Tube)
จะเป็นการให้อาหารทางสายโดยใส่ผ่านผนังหน้าท้องเข้าไปยังกระเพาะอาหารโดยตรง ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทที่มีภาวะกลืนลำบากถาวร - สายให้อาหารทางลำไส้เล็กส่วนต้น (Jejunostomy Tube - J-Tube)
การให้อาหารทางสายในกรณีนี้จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถให้ผ่านกระเพาะอาหารได้ เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหากรดไหลย้อนรุนแรง หรือ มีปัญหาการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการสำลักอาหารของผู้ป่วยเข้าสู่ปอดได้
วิธีการให้อาหารทางสายสำหรับผู้ป่วย
- การเตรียมอาหาร
ในการให้อาหารทางสายสำหรับผู้ป่วยนั้นควรเลือกอาหารที่เหมาะสม และ เป็นไปตามคำแนะนำของนักโภชนาการ หรื แพทย์ อีกทั้งอาหารที่ใช้มักเป็นอาหารเหลว หรือ สูตรอาหารทางการแพทย์ที่มีสารอาหารครบถ้วน และ จำเป็นจะต้องตรวจสอบอุณหภูมิของอาหารให้อยู่ในช่วงอุ่นพอดี (ไม่ร้อน หรือ เย็นเกินไป)อีกด้วย - การให้อาหารทางสาย
การให้อาหารทางสายสำหรับผู้ป่วยนั้นมี ด้วยกัน 3 วิธีนั้นก็คือ- ให้แบบหยดต่อเนื่อง (Continuous Feeding): เป็นการให้อาหารใช้ปั๊มให้อาหารโดยให้อาหารไหลเข้าช้าๆ ตลอดทั้งวัน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการย่อย หรือ ดูดซึมอาหาร
- ให้แบบเป็นมื้อ (Intermittent Feeding): จะเป็นการใช้กระบอกฉีดยา หรือ ถุงให้อาหารเพื่อให้อาหารเป็นมื้อ เหมาะกับผู้ป่วยที่สามารถทนต่อการให้อาหารในปริมาณมากขึ้นได้
- ให้แบบโบนัส (Bolus Feeding): เป็นการให้อาหารทางสายโดยให้ปริมาณอาหารในช่วงเวลาสั้นๆ ใช้กระบอกฉีดยาดันอาหารเข้าไป เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สามารถย่อย และ ดูดซึมอาหารได้ดี
- ให้แบบหยดต่อเนื่อง (Continuous Feeding): เป็นการให้อาหารใช้ปั๊มให้อาหารโดยให้อาหารไหลเข้าช้าๆ ตลอดทั้งวัน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการย่อย หรือ ดูดซึมอาหาร
- การดูแลสายให้อาหาร
ควรมีการตรวจสอบตำแหน่งของสายก่อนให้อาหารทุกครั้ง โดยควรล้างสายให้อาหารด้วยน้ำสะอาดก่อน และ หลังให้อาหารเพื่อลดการอุดตัน อีกทั้งจำเป็นจะต้องดูแลความสะอาดของบริเวณที่ใส่สาย เช่น บริเวณจมูก หรือ หน้าท้อง ทุกครั้งทั้งก่อน และ หลัง การให้อาหารทางสาย
การดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องให้อาหารทางสาย
- การป้องกันการอุดตันของสาย
ในการให้อาหารทางสายนั้นจะเป็นจะต้องล้างสายด้วยน้ำสะอาด 30-50 มิลลิลิตรหลังให้อาหาร หรือยาทุกครั้ง โดยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา หรือ อาหารที่มีความข้นหนืดเกินไป - การป้องกันภาวะแทรกซ้อน
ในการให้อาหารทางสายนั้นจำเป็นจะต้องเข้าใจภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยภาวะการสำลัก (Aspiration Pneumonia) ที่ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งศีรษะสูง 30-45 องศาในระหว่างและ หลังให้อาหารอย่างน้อย 30-60 นาที ต่อมาภาวะการติดเชื้อ ที่ควรรักษาความสะอาดของสายให้อาหาร และ บริเวณที่ใส่สายอย่างเคร่งครัด และ อาการท้องเสีย หรือ ท้องผูก ที่ผู้ดูแลจำเป็นต้องตรวจสอบปริมาณ และ ประเภทของอาหาร หากมีอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ หรือ นักโภชนาการ ทันที - การดูแลสุขภาพช่องปาก
แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ได้รับประทานอาหารทางปากได้เอง แต่ก็ควรดูแลความสะอาดทางช่องปากของผู้ป่วยด้วยเช่นกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และ กลิ่นปาก โดยสามารภใช้สำลีชุบน้ำเช็ดในช่องปากเป็นประจำ - การติดตามภาวะโภชนาการ
แม้ผู้ป่วยจะต้องให้อาหารทางสายแต่ก็ควรมีการประเมินผู้ป่วยโดยการ ชั่งน้ำหนักผู้ป่วยเป็นประจำเพื่อติดตามภาวะโภชนาการ อีกทั้งควรคอยสังเกตอาการขาดสารอาหาร หรือ อาการแพ้อาหาร เช่น ผิวซีด อ่อนเพลีย หรือ อาการทางระบบทางเดินอาหาร
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่าการให้อาหารทางสายเป็นกระบวนการที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้อย่างเพียงพอ การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น การป้องกันการอุดตันของสาย ภาวะแทรกซ้อน และ ภาวะโภชนาการที่เหมาะสม โดยการดูแลที่ถูกต้อง และ เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่ดีขึ้น และ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นดังนั้นหากจำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการดูแลคนที่คุณรักนั้นเราขอแนะนำ Aplusnursinghome ซึ่งเป็นศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีบริการครบครันทั้งด้านผู้ป่วยติดเตียง และ ผู้สูงอายุโดยเฉพาะ อีกทั้งผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลจากผู้มากประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกายภาพบำบัด ร่างกาย และ จิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างดี มีกิจกรรมมากมาย มีอาหารผู้ป่วยติดเตียงที่เหมาะสมอีกทั้งสามารถให้อาหารทางสายได้อย่างเหมาะสม มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน เพื่อให้ผู้ป่วยนั้นได้พักฟื้นได้รับการดูแลทั้งด้านร่างกาย และ จิตใจให้เบิกบาน แล้วยังสามารถดูแลคนที่คุณรักด้วยมาตรฐาน ตลอด 24 ชม ทั้งยังมีบุคลากรบริการดูแลผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ และ ทีมพยาบาลวิชาชีพ ให้ผู้เข้ารับบริการมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และ สังคมอย่างแน่นอน
สนใจดูรายละเอียด และขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ติดต่อ เอพลัส เนอร์สซิ่งโฮม
โทร : 092-656-5650
Line : @aplusnursinghome
อีเมล : aplusnursinghome@gmail.com