วิธีป้องกันโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดเตียง

7 วิธีการดูแลผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดเตียงให้ห่างไกลโรคซึมเศร้าโดยศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

วิธีป้องกันโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

สำหรับผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดเตียงนั้นอีกโรคที่เป็นยอดฮิตของพวกเค้าเลยคือ โรคซึมเศร้าซึ่งเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้จากการได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีเราจึงมาแนะนำขั้นตอนการดูแลต่างเพื่อให้เข้าใจพวกเค้าเหล่านี้

การดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วยติดเตียง เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก การป้องกันโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดเตียงเป็นเรื่อง
ที่มีความสำคัญ เรื่องของสุขภาพจิตก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ เพราะเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงในชีวิตหลายสิ่ง อารมณ์ และ ความรู้สึกของผู้สูงอายุอาจเปราะบางเป็นพิเศษ จนส่งผลให้สุขภาพจิตย่ำแย่ กลายเป็นภาวะซึมเศร้า เนื่องจากภาวะเหล่านี้มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกาย และ จิตใจ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว หรือ การใช้ชีวิตประจำวัน การดูแลสุขภาพจิต และ ป้องกันภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดเตียง โดยหากเป็นการดูแลจากทางศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะสามารถทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้ห่างจากโรคซึมเศร้า จากทางศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

  1. สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนทางอารมณ์
    ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นต้องการสนับสนุนทางอารมณ์จากครอบครัว และ ผู้ดูแลจากทางศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง เป็นสิ่งสำคัญซึ่งการพูดคุยอย่างใกล้ชิด และ แสดงความห่วงใย จะช่วยสร้างความรู้สึกว่าผู้ป่วยไม่ถูกทอดทิ้ง และ ยังคงมีความสำคัญในครอบครัว อีกทั้งเรายังสามารถส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมให้แก่ผู้ป่วยติดเตียงแม้ผู้ป่วยจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่การให้พวกเขามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เช่น
    การสนทนาทางโทรศัพท์ วิดีโอคอล หรือ การเข้าร่วมกลุ่มสนทนาออนไลน์ ช่วยลดความโดดเดี่ยวได้ เช่นกันซึ่งจะช่วยผู้ป่วยห่างไกลโรคซึมเศร้าได้

  2. ส่งเสริมกิจกรรมทางร่างกาย และ จิตใจ
    หากเป็นศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะมีกิจกรรมทางร่างกายที่เหมาะสมแม้ผู้ป่วยติดเตียงจะมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว แต่ทางศูนย์จะส่งเสริมให้พวกเขามีการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม เช่น การยืดเหยียดแขนขา หรือ การทำกายภาพบำบัดเบา ๆ ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และ ลดความรู้สึกไร้ตัวตนได้อย่างมาก อีกทั้งจะมีการกระตุ้นทางสมอง และ จิตใจเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความคิด เช่น การอ่านหนังสือ
    การฟังเพลงที่ชื่นชอบ การชมรายการทีวี หรือ การทำงานฝีมือเบา ๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะทางจิตใจที่ถดถอยได้เป็นอย่างดี

  3. การดูแลสุขภาพกาย และ การรับประทานอาหาร
    หากได้รับการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างต่อเนื่องจากทางศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง จะสามารถตรวจสุขภาพเป็นประจำได้เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือ โรคข้ออักเสบ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคซึมเศร้า อีกทั้งยังได้
    การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอาหารที่ช่วยเสริมสร้างสมอง เช่น ผัก และ ผลไม้สด ปลา และ อาหารที่มีโอเมก้า-3 ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะซึมเศร้า

  4. การนอนหลับ และ การพักผ่อนที่เหมาะสม
    นอกจากการได้รับการดูแลในด้านต่าง ๆ แล้ว ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงยังสามารถดูแลให้ผู้ป่วยมีการนอนหลับที่ดีซึ่งการนอนหลับเพียงพอ และ สม่ำเสมอมีผลต่อสุขภาพจิต การสร้างสภาพแวดล้อมที่สงบ และ สบาย จะช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ดีขึ้น อีกทั้งจัดเวลาให้มีการพักผ่อนที่ผ่อนคลาย
    สำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่อาจต้องการช่วงเวลาส่วนตัวในการพักผ่อน เช่น การฟังดนตรีเบา ๆ หรือ การผ่อนคลายทางจิตใจ การนั่งสมาธิ เป็นต้น

  5. การให้คำปรึกษา และ การบำบัดทางจิต
    สำหรับศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะได้รับการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชได้อย่างง่ายดายหากผู้ป่วยติดเตียงมีอาการซึมเศร้า จะได้เข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเพื่อรับการประเมิน และ การบำบัดที่เหมาะสม เช่น การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา หรือ การใช้ยารักษาซึมเศร้าในกรณีที่จำเป็น 
    อีกทั้งยังมีการใช้การบำบัดด้วยศิลปะ และ ดนตรี ซึ่งการใช้กิจกรรมศิลปะ ดนตรี หรือ การแสดงออกทางศิลปะ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถแสดงอารมณ์ และ ความรู้สึก ซึ่งช่วยลดความเครียด และ ป้องกันภาวะซึมเศร้าได้

  6. การเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่า
    อีกสิ่งที่จะช่วยบำบัดผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยติดเตียง ในศูนย์รับดูแลผู้ป่วยติดเตียง คือการส่งเสริมมีการทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ ซึ่งให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมที่พวกเขารู้สึกว่ามีความสำคัญ หรือ ช่วยเหลือผู้อื่นได้ เช่น การทำของใช้จากฝีมือ หรือ การทำงานอาสาในชุมชนทางออนไลน์ต่างๆ อีกทั้งการให้กำลังใจ และการยอมรับจากครอบครัว จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้กำลังใจ และ ชื่นชมในสิ่งที่ผู้ป่วยทำได้จะช่วยเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่า และ ลดความรู้สึกสิ้นหวังลงได้

  7. เฝ้าระวัง และ สังเกตอาการของผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดเตียง
    สิ่งที่จะช่วยได้อีกอย่างควรเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลของ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่ควรสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วย หรือ ผู้สูงอายุ เช่น อารมณ์เศร้า ไม่สนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ หรือ มีความรู้สึกสิ้นหวัง และ หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตทันที

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการดูแลป้องกันโรคซึมเศร้าสำหรับ ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยติดเตียงนั้นจำเป็นจะต้องได้รับการดูแลทั้งสุขภาพกาย และ ใจของผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดเตียงเพื่อเป็นการป้องกันภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมของครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม และ การดูแลอย่างเป็นระบบจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพหากสนใจในการใช้บริการศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงสำหรับคนที่คุณรักนั้นเราขอแนะนำ Aplusnursinghome ซึ่งเป็นศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดเตียงที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านผู้ป่วยติดเตียงโดยเฉพาะ อีกทั้งผู้ป่วยติดเตียงจะได้รับการดูแลจากผู้มากประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกาย และ จิตใจของผู้ป่วยติดเตียงเป็นอย่างดี มีกิจกรรมมากมาย เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงนั้นได้พักฟื้นได้รับการดูแลทั้งด้านร่างกาย และ จิตใจให้เบิกบาน อีกทั้งสามารถดูแลคนที่คุณรักด้วยมาตรฐาน ตลอด 24 ชม ทั้งยังมีบุคลากรบริการดูแลผู้ป่วยติดเตียง และ ผู้สูงอายุ โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ และ ทีมพยาบาลวิชาชีพ ให้ผู้เข้ารับบริการมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และ สังคมอย่างแน่นอน

สนใจดูรายละเอียด และขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ติดต่อ เอพลัส เนอร์สซิ่งโฮม

ที่อยู่ 34/7 หมู่ 9 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120

โทร : 092-656-5650
ออฟฟิศ : 02-010-5788
Line : @aplusnursinghome
อีเมล : aplusnursinghome@gmail.com