ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โดย ศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุกับภาวะอาการซึมเศร้าที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับคนที่คุณรัก โดย ศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุ
หากแก่ชราขึ้นนอกจากสภาพร่างกายที่เสื่อมตามอายุแล้วปัญหาที่ตามมาหากอายุสูงขึ้นอีกอย่างนั้นก็คือเรื่องของสุขภาพจิตก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ เพราะเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงในชีวิตหลายสิ่ง อารมณ์ และ ความรู้สึกของผู้สูงอายุอาจเปราะบางเป็นพิเศษ จนส่งผลให้สุขภาพจิตย่ำแย่ กลายเป็นภาวะซึมเศร้า โดยอาการของภาวะซึมเศร้านี้ไม่ได้บ่งบอกถึงความเจ็บปวดทรมานทางด้านร่างกาย แต่ในทางกลับกันภาวะซึมเศร้าทำร้ายสุขภาพจิตใจซึ่งอาการซึมเศร้าจะมีตั้งแต่ซึมเศร้าเล็กน้อย ไปถึงรุนแรงมากจนมีอาการจิตเวชร่วมด้วย แต่กลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือกลุ่มที่มีภาวะซึมเศร้าแต่ไม่แสดงอาการ หากมีการถูกปล่อยปละละเลยจนกลายเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ แต่หากศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุ หรือ ลูกหลาน คอยเอาใจใส่ ไม่ปล่อยปละละเลยจะสามารถบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ซึ่งในวันนี้เราจะมาบอกถึงปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุกัน
ปัจจัยที่อาจจะก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
- สุขภาพร่างกายที่เสื่อมลง
เนื่องจากหลังจากอายุมากขึ้นสุขภาพโดยทั่วไปมักจะเสื่อมไปตามกาลเวลาอีกทั้งสารสื่อประสาทในสมองอาจทำงานผิดปกติ ทำให้เสียสมดุลทางอารมณ์ หรือ มีโรคทางกายบางอย่างที่ส่งผลกระทบถึงสมอง เช่น โรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง หรือ แม้แต่การเจ็บป่วยที่ไม่ได้ส่งผลกระทบถึงสมองโดยตรง แต่ทำให้รู้สึกเครียด และ กังวล เช่น เบาหวาน มะเร็ง โรคหัวใจ โรคไต หรือ อาการปวดข้อ เป็นต้นซึ่งอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดปัญหาโรคซึมเศร้า - ความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์
ผู้สูงอายุอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจ ซึ่งเกิดขึ้นจากความเสื่อมของสมองและระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลเหมือนเดิม อาจจะมีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขี้ระแวง วิตกกังวล โกรธง่าย เอาแต่ใจซึ่งอาจจะมีหลากหลายสาเหตุ เช่นการที่ผู้สูงอายุเพิ่งสูญเสียคนใกล้ชิด หรือ บุคคลอันเป็นที่รักไป ผู้สูงอายุมักจะทำใจไม่ได้ และ เกิดความรู้สึกไม่อยากทำอะไร หรือ พบเจอใคร สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณอันตรายของการเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าได้นั้นเอง - ภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อถึงวัยเกษียณบทบาท หรือ หน้าที่ที่มีต่อคนรอบข้างอาจเปลี่ยนไป ทำให้ต้องปรับตัวกับการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ยกตัวอย่างเช่น การต้องเปลี่ยนบทบาทจากหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ตาม หรือ บทบาทในหน้าที่การงานที่มีมากมีคนห้อมล้อมมากมาย เมื่อถึงวันเกษียณอายุ ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับนับถือจากคนอื่น หรือ คนในครอบครัวมากเท่าเมื่อก่อน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจทำให้ผู้สูงอายุบางคนรู้สึกว่าตัวเองไร้ประโยชน์ ไม่มีคุณค่า และ ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป จึงเกิดภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน - การเจ็บป่วย
ด้วยสุขภาพที่เสื่อมถอยอายุที่เพิ่มขึ้นอาจจะตามมาด้วยโรคภัยที่ถามหาด้วยโรคเรื้อรัง หรือ โรคที่รักษาไม่หาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง โรคสมองเสื่อม เป็นต้น ทำให้ผู้สูงอายุเกิดปัญหาทางด้านจิตใจตามมา รู้สึกเบื่อหน่ายในการรักษาที่ยืดเยื้อ ยุ่งยาก เจ็บตัว มีค่าใช้จ่ายที่สูง โดยที่มีผลการรักษาไม่หายขาด ผู้สูงอายุจึงไม่ยอมร่วมมือในการรักษา ทำให้อาการทรุดหนักอย่างรวดเร็ว ทนทุกข์ทรมาน มีคุณภาพชีวิตแย่ลงจึงทำให้เกิดสภาวะทางจิตใจด้วยเช่นกัน
วิธีการรักษาอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
อาการซึมเศร้านั้นมีหลากหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการถ้าสาเหตุมาจากภาวะทางจิตเวชโดยตรง ต้องปรึกษาแพทย์ทางจิตเวชในการดูแลรักษา โดยการใช้ทางยาจิตเวชในการควบคุมเป็นหลัก แต่หากเกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย และจิตใจ สังคม สภาพแวดล้อม ประสบการณ์การสูญเสีย การรักษานั้นอาจให้เข้าพบจิตแพทย์เพื่อพูดคุยให้คำปรึกษา บำบัดจิต ปรับวิธีคิดใช้ชีวิต และ ปรับทัศนคติทางลบให้ดีขึ้น จะช่วยเปลี่ยนมุมมอง และ เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่เข้ามามากขึ้น รวมทั้งอาศัยการปรับตัวของลูกหลาน คนในครอบครัว คนรอบข้าง ให้ความเข้าใจ และ เอาใส่ใจดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ไม่ทิ้งผู้สูงอายุไว้ตามลำพัง ควรมีคนคอยดูแลอยู่เสมอ หากไม่มีเวลาดูแลด้วยภาวะทางครอบครัวอาจจะใช้บริการศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุที่มีมาตรฐานมีกิจกรรมให้ผู้สูงอายุไม่เบื่อหน่าย หากในรายที่มีอาการรุนแรงมาก เช่น น้ำหนักลดลง นอนไม่หลับ เริ่มมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย แพทย์อาจพิจารณารักษาโดยใช้ยาร่วมด้วย โดยเริ่มใช้ยาต้านเศร้าในระดับอ่อนๆ ก่อน และ มาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอนั้นเอง
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการดูแลจิตใจของผู้สูงอายุนั้นเป็นสิ่งสำคัญเช่นกันกับทางด้านร่างกายภาวะซึมเศร้ามีโอกาสเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มคนวัยอื่น และ เมื่อรักษาอาการซึมเศร้าหายแล้ว ก็อาจกลับมาเป็นอีกได้ ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกตอยู่เสมอ ว่าคุณพ่อคุณแม่ หรือ ผู้สูงอายุในครอบครัว มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายภาวะซึมเศร้า หรือ ไม่ จะได้ป้องกันได้ทันท่วงที และ หากมีอาการ หรือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และ รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปแต่หากไม่มีเวลามากพอก็ควรหาสถานที่ดูแลที่มีความพร้อมให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่ได้มาตรฐาน
เราแนะนำAplusnursinghome ซึ่งเป็นศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุ ที่มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำจะได้รับการดูแลจากผู้มากประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกาย และ จิตใจของผู้สูงอายุ มีกิจกรรมมากมาย เพื่อให้ผู้สูงอายุนั้นได้พักฟื้นได้รับการดูแลทั้งด้านร่างกาย และ จิตใจให้เบิกบาน อีกทั้งสามารถดูแลคนที่คุณรักด้วยมาตรฐาน ตลอด 24 ชม ทั้งยังมีบุคลากรบริการดูแลผู้ป่วยติดเตียง และ ผู้สูงอายุ โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ และ ทีมพยาบาลวิชาชีพ ให้ผู้เข้ารับบริการมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และ สังคมอย่างแน่นอน
สนใจดูรายละเอียด และขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ติดต่อ เอพลัส เนอร์สซิ่งโฮม
34/7 หมู่ 9 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร : 092-656-5650
ออฟฟิศ : 02-010-5788
Line : @aplusnursinghome
อีเมล : aplusnursinghome@gmail.com