วิธีป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียงจาก ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
5 วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ให้เกิดแผลกดทับจากศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
เมื่อพูดถึงผู้สูงอายุมักจะตามไปด้วยโรคภัยต่างๆที่ตามมาหลังจากแก่ชราขึ้นเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งบางคนอาจจะสามารถทำกิจวัตรประจำวันเองได้ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็มีอีกมากที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือเรียกอีกอย่างว่าผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งมักมีปัญหาหลายๆอย่างตามมา เช่น ขาดสารอาหารจน ร่างกายซูบผอมลง จนเกิดมีปุ่มกระดูกชัด รวมถึงอาจจะมีปัญหาด้านผิวหนังที่แห้ง หย่อนยาน ขาดความชุ่มชื้นและ มีภาวะโรคร่วมอย่างอื่นที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดแผลกดทับ หรือ แผลที่เกิดจากการเสียดสีได้ เช่น ภาวะเบาหวานที่เป็นภัยร้าย แผลอักเสบติดเชื้อง่าย ภาวะเส้นเลือดที่ปลายแขนขาที่ไม่ดี รวมถึงปัจจัยความชื้นของอากาศ และ วัสดุที่นอนไม่เหมาะสม พื้นผิวแข็งมีความเสี่ยงต่อการเสียดสีมาก ก็จะเป็นปัญหาได้เช่นกันดังนั้นในวันนี้เราจะมาบอกถึงวิธีการดูแลแผลกดทับของศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างไร สามารถป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับเพิ่มขึ้นได้ หรือ ไม่
วิธีป้องกันแผลกดทับที่อาจจะเกิดกับผู้ป่วยติดเตียงโดยศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
- ควรเปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ
การเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วยติดเตียงบ่อยๆเป็นหนึ่งในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ เนื่องจากการเปลี่ยนท่าให้กับผู้ป่วยติดเตียงจะช่วยลดแรงกดทับ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้กับผู้ป่วย นอกจากนี้การเปลี่ยนท่านอนให้กับผู้ป่วยยังช่วยลดความเจ็บปวด ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วย ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนท่านอนให้กับผู้ป่วยอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อครั้ง หรือ ตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำโดยปกติแล้วหากเป็นศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วยอยู่เสมอ - ดูแลผิวหนังรักษาความสะอาดของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ
ความชื้นเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของแผลกดทับการรักษาความสะอาดให้ผู้ป่วยติดเตียงย่อมเป็นสิ่งสำคัญดังนั้นผู้ดูแลจากศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจึงจำเป็นที่จะต้องดูแลผิวหนังของผู้ป่วยให้สะอาด และ แห้งอยู่เสมอ โดยสามารถทำได้ด้วยการใช้ผ้าขนหนูเช็ดน้ำเช็ดบริเวณที่มีความชื้นบ่อยๆ และ ควรเปลี่ยนผ้าเช็ดตัว รวมไปถึงเสื้อผ้าที่มีความชื้นเป็นประจำ เพื่อป้องกันการสะสมของความชื้น และ กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ - ดูแลเรื่องโภชนาการของผู้ป่วยติดเตียง
อาหารของผู้ป่วยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ดูแลต้องคำนึงเพราะผู้ป่วยติดเตียงบางคนต้องได้รับอาหารผ่านทางสายยาง รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ การคำนวณปริมาณการรับสารอาหารหลัก ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันชนิดดี ไขมันอิ่มตัว และ ชนิดทรานส์ ผักผลไม้ที่มีกากใยสูง และการให้สารอาหาร หรือวิ ตามินเสริมในสัดส่วนที่พอเหมาะ ในรายที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร เสริมในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละรายก็เป็นสิ่งจำเป็น หากภาวะโภชนาการดี ก็จะทำให้โอกาสการเกิดแผลน้อยลง แม้ว่าจะเป็นแผลก็ฟื้นตัวได้ไวขึ้นดังนั้นหากเป็นศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีความชำนาญจะสามารถจัดตารางอาหารออกมาได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน - ควรใช้หมอน หรือ เบาะรองนั่งที่เหมาะสม
การนำหมอน และ เบาะรองนั่งมาใช้กับผู้ป่วยติดเตียงนั้นช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยที่มีภาวะการเคลื่อนไหวน้อย หรือ มีภาวะโรคเบาหวานที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้ง่าย โดยการใช้หมอนควรใช้แบบที่มีความอ่อนนุ่ม เพราะจะช่วยลดแรงกดทับบนส่วนที่มีน้ำหนักมากได้ ส่วนเบาะรองนั่ง ควรใช้แบบที่มีฟองอากาศ หรือ เม็ดพลาสติก เพราะจะช่วยกระจายน้ำหนักตัวให้เท่ากันได้ดีนั้นเอง - หมั่นตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียง
การตรวจสอบรอยแดงบนผิวหนังของผู้ป่วยเป็นประจำ จะช่วยให้ผู้ดูแลหาสัญญาณของรอยแดงที่อาจเกิดแผลกดทับ เช่น ตำแหน่งที่มีการกดทับบ่อยๆ ตำแหน่งที่มีการเสียดสีบ่อย ๆ ปุ่มกระดูกที่พบมาก บริเวณก้นกบ ตาตุ่ม ข้อศอก และ ด้านข้างของเข่า รวมถึงใบหู ด้านหลังศีรษะ บริเวณปีกจมูกถ้าผู้ป่วยได้รับการใส่สายให้อาหารทางสายจมูกมาเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งถ้าหากพบลักษณะสีผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง ม่วง หรือ ดูมีลักษณะการอักเสบ เช่นกดเจ็บ หรือ เปลี่ยนเป็นสีดำ บ่งบอกถึงว่าบริเวณนั้น มีการกดทับ จนเนื้อตายที่รุนแรง หากมีลักษณะดังกล่าวควรจะขอความปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือ หากพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจจะเพิ่มการดูแลการพลิกตัวให้มากขึ้น ก็จะช่วยลดอุบัติจากการเกิดแผลได้ แต่ถ้าหากผู้ป่วยอยู่ในการดูแลของศูนย์ผู้ป่วยติดเตียงที่มีมาตรฐานนั้นจะมีผู้ดูแลคอยตรวจสอบให้อยู่เสมอนั้นเอง
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการป้องกันการเกิดแผลกดทับที่อาจจะเกิดกับผู้ป่วยติดเตียงซึ่งต้องหมั่นดูแล และ ตรวจสอบผู้ป่วยอยู่เสมอ เมื่อประสบปัญหาแผลกดทับ คนในครอบครัวจำเป็นต้องรีบแจ้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำข้อปฏิบัติเพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดแผลกดทับเมื่อได้เข้าพบนักกายภาพบำบัด อีกทั้งหากมีศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีมาตรฐาน อีกทั้งคอยเอาใจใส่คนที่เรารักย่อมก็เป็นสิ่งที่ดี
ดังนั้นเราจึงขอแนะนำ Aplusnursinghome ซึ่งเป็นศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุ และ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ที่มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ อีกทั้งผู้ป่วยติดเตียงจะได้รับการทำกายภาพบำบัดจากนักกายภาพบำบัดผู้มากประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายโดยได้รับบาดเจ็บน้อยที่สุด อีกทั้งสามารถดูแลคนที่คุณรักด้วยมาตรฐาน ตลอด 24 ชม ทั้งยังมีบุคลากรบริการดูแลผู้ป่วยติดเตียง และ ผู้สูงอายุ โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ และ ทีมพยาบาลวิชาชีพ ให้ผู้เข้ารับบริการมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และ สังคมอย่างแน่นอน
ติดต่อสอบถามศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงเอพลัส เนอร์สซิ่งโฮม ได้ที่
34/7 หมู่ 9 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร : 092-656-5650
ออฟฟิศ : 02-010-5788
Line : @aplusnursinghome
อีเมล : aplusnursinghome@gmail.com